หน้าแรก กำเนิด ความนิยม                 หลักฐานเกี่ยวกับโนรา การจัดพิธีโนราโรงครู  
 

หลักฐานเก่าแก่ที่สุดเกี่ยวกับโนรา คือภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดเกาะแก้วสุทธาราม
จังหวัดเพชรบุรี เหนือกรอบประตูด้านหน้าข้างซ้ายของพระประธาน ที่เขียนภาพงานพระเมรุ
พระพุทธเจ้านั้น ยังประกอบไปด้วยภาพมหรสพหลายชนิด ดังเช่นโขน ญวนหก ต่อยมวย
ไต่ลวด และโนราหญิงชายสองคนกำลังซัดท่ายกแขนได้ฉากอย่างงามสง่าอยู่ระหว่างระทา
*ร้านดอกไม้ไฟที่ใช้จุดในงานพิธี โนราทั้งสองสวมเทริด สวมหาง ใส่เล็บงอน มีกำไลรัดข้อมือ
รัดต้นแขน ฝ่ายหญิงนั้นเปลือยอก แต่โดยรวมๆ แล้ว เครื่องแต่งกายดูคล้ายคลึงกันมากกับ
โนรายุคปัจจุบัน
                ที่สำคัญก็คือจิตรกรรมชุดนี้มีจารึกอยู่ที่ผนังด้านหนึ่งระบุว่าเขียนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๒๗๗
หรือ จ.ศ. ๑๐๙๖ ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
                นี่คือภาพเขียนโนราเก่าแก่ที่สุดที่พบในปัจจุบัน และสามารถใช้เป็นหลักฐานชี้ชัดว่า
อย่างน้อยในสมัยอยุธยาตอนปลาย มหรสพโนราเคยแพร่หลายมาแล้ว และมิได้จำกัดวงอยู่แต่
เฉพาะในภาคใต้ด้วย หากแพร่หลายไกลขึ้นมาอย่างน้อยก็ถึงเมืองเพชรบุรี
                ในปัจจุบันนี้คนชมโนราจะได้เห็นกันว่าในคณะโนรานั้นจะมีตัวละครเด่นอยู่สองฝ่ายคือ
ครูโนราที่รำ
*ระทา หอสูงรูปสี่เหลี่ยมหลังคายอดเกี้ยว ปร
ะดับดอกไม้ไฟ

 
      
           
 
Next